วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย
 
      เรื่อง  ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง  ( Brain - based Learning )

      ชื่อผู้วิจัย  สารภี  ชมภูคำ

    นิยามสำคัญ

      ทักษะการสังเกต  หมายถึง  ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุจัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่าง หรือ ความสัมพันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งจากการใช้ หู ตา จมูก ลิ้น และ ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์

     ทักษะการวัด  หมายถึง  การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตรฐาน ซึ่งอาจไม่มีหน่วยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ว คืบ ศอก เป็นต้น รวมถึงการประมาณความหนักเบาของวัตถุ

     ทักษะการจำแนก  หมายถึง   ความสามรถในการแบ่งจัด หรือ เรียบเรียงลำดับวัตถุ หรือ สิ่งของที่มีอยู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่งเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว ส่วนสิ่งมีชีวิตใช้เกณฑ์ อาหาร ลักษณะ ที่อยู่อาศัย การสืบพันธ์ ประโยชน์

    แนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง  หมายถึง  สมองมีการรับรู้หลากหลายรูปแบบหลายวิธีจากประสบการณ์ที่เหมาะสม ในระหว่างเวลาที่ดีเยี่ยม

  ประกอบด้วย 5 หน่วย
1.  หน่วยปลูกต้นไม้ลดความร้อน  ( ธรรมชาติรอบตัว )
2. หน่วยไฟฟ้า  ( เรื่องรางเกี่ยวกับตัวเด็ก )
3. หน่วย เสียงรอบตัวเรา  ( บุคคลสถานที่รอบตัวเด็ก )
4. หน่วย ดินจ๋าดิน  ( ธรรมชาติรอบตัวเด็ก )
5. หน่วยไข่มาแล้วจ๋า  ( สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก )

EX. แบบทดสอบทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

ด้านการสังเกต
  เวลา  :  2 นาที
  สถานการณ์ :  มีผักจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ มะเขือเทศ  มะเขือพวง  มะเขือ
  คำสั่ง  :  ให้เด็กบอก หรือ ชี้ผักชนิดใดที่มีลักษณะแตกต่างจากพวกและมีจำนวนมากที่สุด
  อุปกรณ์  :  มะเขือเทศ  มะเขือพวง  มะเขือ

ด้านการวัด
   เวลา  :  2  นาที
   สถานการณ์  :  มีมะเขือจำนวน  4  ผล  แอปเปิ้ล  จำนวน  1  ผล วางอยู่บนโต๊ะ
   คำสั่ง  :  ให้เด็กชั่งผลไม้  2  ชนิด บอกผลไม้ชนิดใดมากกว่า
   อุปกรณ์  :  แครื่องชั่ง  2  แขน  มะเขือ  4  ผล  แอปเปิ้ล  1  ผล

ด้านการจำแนกประเภท
  เวลา  :  2  นาที
  สถานการณ์  :  มีน้อยหนา  มะเขือ  มะเขือเทศ  แตงกวา
  คำสั่ง  :  ให้เด็กจัดประเภท มีอะไรบ้างเป็นผัก
   อุปกรณ์  :  น้อยหนา  มะเขือ  มะเขือเทศ  แตงกวา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น