วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15
ประจำวันที่  27  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ   นำเสนอวิจัย

          1.  เรื่องการสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     ทักษะการจำแนก
     ทักษะการสังเกต
     ทักษะการวัด
     การหามิติสัมพันธ์
หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนรัก   อาหารของสัตว์
อุปกรณ์   บัตรภาพสัตว์  บัตรภาพอาหารสัตว์  กระเป๋าหนัง
   -  แบ่งเด็กออกเป็น  5  กลุ่ม และคิดออกแบบท่าทางสัตว์ที่ได้
   - ภาพอาหาร
   - แจกบัตรภาพให้เด็ก และให้เด็กเรียงจากเล็กไปใหญ่
เด็กต้องมีประสบการณืเดิม   ** ใช้บรูณาการในกิจกรรม  เคลื่อนไหว
คำถาม
   -  ภาพนี้คืออะไร ?
   -  อาหารชนิดนี้เป็นอาหารของสัตว์อะไร ?
   -  สัตว์ดำรงชีวิตอย่างไร ?
   -  สัตว์กินอะไรนอกจากอาหารสัตว์ ?
นำภาพอาหารที่เรียงแล้วใส่ในกระเป๋าว่าตรงกับสัตว์อะไร
** สังเกต   =  มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
     จำแนก  = อาหารสัตว์
     การวัด   = เรียงขนาด  วัดขนาด  ( ด้วยตาของเด็ก )
  • ครูจะจัดมุมเสรีในหน่วยที่สามารถหาของจริงมาได้  ใส่ไว้ในตู้เพื่อให้เด้กสังเกตุและบันทึกการเปลี่ยนแปลง
  • ทำแบบฝึกหัด  การจับคู่ความสัมพันธ์
วิจัย การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            2.  เรื่อง การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์โดยทักษะการสังเกตที่เกี่ยวข้องกับเด้กปฐมวัย
    หน่วยแว่นขยายเห็นชัดเจน
วิธีการ   -  ครูแนะนำกิจกรรม / ให้เด็ก ๆ นำแว่นขยายส่องสิ่งที่ตนเองสนใจ
             - แว่นขยายส่อง ดิน  หิน  ต้นไม้  แมลง  โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  สำรวจรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน 
            - สังเกตของจริงมองด้วยตาเปล่า และมองด้วยแว่นขยาย จากนั้นวาดภาพเปรียบเทียบ
คำถาม
         -  เด็ก ๆ มองเห้นวัตถุเป็นอย่างไร ?
         - เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง ?
         - เมื่อใช้แว่นขยายส่องวัตถุแล้ววัตถุเป็นอย่างไร ?
        -  มองด้วยตาเปล่า และ มองด้วยแว่นขยายมีขนาดแตกต่างกันอย่างไร ?
   
     หน่วย  แสงเป็นอย่างไร  ( สถานที่ใต้ต้นไม้ใหญ่  / เล็ก )
วิธีการ    -  ครูแนะนำกิจกรรม เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
1. เด็กยืนใต้ต้นไม้ใหญ่ และต้นไม้เล็ก เพื่อดูแสงที่ลอดผ่านใบไม้ ดุความแตกต่างของแสงที่ลอดผ่าน
2. ทดลองตักน้ำใส่ขัน วางกลางแดดประมาณ 1 ชั่วโมง และตักน้ำใส่ขันแต่วางอยู่ในร่ม ดูว่าแตกต่างกันอย่างไร
3. จับดิน  ดินเปียก ดินแห้ง
4. เด็กหาวัตถุธรรมชาติเพื่อทำเป็นเงา และสังเกตเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์
         - สรุป โดยการสนทนาถึงกิจกรรมที่ทำ

วิจัย ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์โดยทักษะการสังเกตที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

        3.  เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด้กปฐมวัยที่ได้รับการจัดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 - การคิดเชิงเหตุผลสำคัญ ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
 - การจำแนกประเภท  การจัดประเภท  อนุกรรม
มี 8 หน่วย ดังนี้  น้ำ อากาศ ดวงอาทิตย์ เรียนรู้ธรรมชาติ พืชน่ารู้ พลังงาน เสียง และ ฉันคือใคร
      ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์   สนุกกับน้ำ
กิจกรรม  กรอกน้ำใส่ขวด
     -  ครูแนะนำกิจกรรม
     - ครูและเด็กร่วมกันวางแผนการหาวิธีกรอกน้ำใส่ขวด  (  ใช้แก้วตัก  ใช้กรวยกรอก  นำขวดคว่ำลง )
     - จากนั้นครูให้เด็กทำตามที่ครูสาธิต
    - ให้เด็ก ๆ คิดหาวิธีการนำน้ำเข้าขวดด้วยตนเอง

  วิจัย การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

      4. เรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อการสังเกตและการทดลองทางวิทยาศาสตร์
-  การสังเกต  การจำแนกประเภท  การวัด การลงความเห็น   มิติสัมพันธ์
  ** พืชต้องการแสงแดด
- ปลุกถั่วงอก  1. ไว้ในที่ที่แสงแดงส่องถึง
                       2. ปลูกแล้วเอากล่องคลอบไว้
- เด็กจะมีการตั้งสมมติฐานและบันทึกทุกวัน
- เด็กสังเกตใบของถั่วงอกที่มีแสงส่องถึง และแสงส่องไม่ถึง
   ** บูรณาการใน  " หน่วยกล้วย "  การถนอมอาหาร  กล้วยตาก
        สังเกตความแตกต่างระหว่าง  กล้วยที่วางอยู่ไว้ในห้อง  กับ  กล้วยที่ใส่ตู้เย็น



การนำเสนอโทรทัศน์ครู(Presentation Teachers TV)

1 .เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เสียงมาจากไหน
       ความสามารถทางด้านดนตรี  
- ไก่กระต๊าก
- กระป๋องรองด้าย
2. เรื่อง สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3 .เรื่อง อนุบาล 3 เรียนวิทย์สนุก
4 .เรื่อง เรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
- เรือพับ
-จรวดพับ
5 .เรื่อง สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6 .เรื่อง ขวดปั้มและลิปเทียน
7 .เรื่อง สื่อแสงแสนสนุก
8 .เรื่อง วิทย์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอน พลังจิต คิดไม่ซื่อ
9. เรื่อง ทะเลฟองรุ้ง
10. เรื่อง สาดสีสุดสนุก
11 .เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
12. เรื่อง ไข่ในน้ำ
13. เรื่อง ความลับของใยบัว
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ Applications.

1. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยได้
2. สามารถนำการทดลองต่าง ๆ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แก่เด็กได้
3. ไปใช้ในการทดลองเพื่อให้ทราบถึงความเป็นจริง

เทคนิคการสอน Teaching methods

สอนในเรื่องการนำเสนอ
การอภิปราย
การยกตัวอย่างในการตั้งคำถาม

การประเมิน Assessment

ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อน ๆ ในการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำสิ่งที่ขาดและรายละเอียดต่างๆของการเขียนแผน

เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ได้ออกมานำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูของตัวเองหน้าชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังอาจารย์ติชมและข้อดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแผนที่จะใช้สอนเด็ก

อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา คอยให้คำแนะนำที่เพื่อนนำเสนอและรูปแบบการเขียนแผน หลักการสอนให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เขียนแผนที่ดีขึ้นและถูกต้องสมบูรณ์แบบ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น