วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู  " กิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส "
 
 
 
     ตามีไว้ดู   หูมีฟัง  จมูกมีไว้ดมกลิ้น  ปากมีไว้ชิมรส  มือไว้สัมผัส  โดยใช้ของจริงสื่อจริงให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ครูใช้คำถามเพื่อกระตุ้นเด็ก
     ขั้นตอนในการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5 
1.  ตามีไว้มอง  ( การมอง )  ขนาดรูปทรง  ลักษณะ  ความหนาบาง  จากนั้นครูให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อให้เด็กเกิดประสบการณ์ตรง
 
2. หู  ( การฟัง )  เสียงที่แตกต่างกันโดยครูจะเขย่ากล่องเสียงที่มีเสียงแตกต่างกัน โดยจากเสีงดังสุดไปเสียงเบาสุด โดยการจับคู่เสียง  โดยการใช้อุปกรณืจากธรรมชาติ  คือ  เปลือกหอย
 
3. มือ  ( การสัมผัส )  อุปกรณ์ ผ้าปิดตา  ผ้าที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน โดยให้เด็กสัมผัสว่าผ้ามีลักษณะผิวที่เหมือนหรือแตกต่างกัน ความหนาความลื่น โดยการสัมผัสจากวัตถุจริง
 
4. จมูก  ( การดมกลิ่น )  หอม เหม็น โดยครูให้เด็กได้ดมกลิ่นที่แตกต่างกัน มีกลิ่นให้เด็กดมเพียง 4 กลิ่นและให้เด็กตอบถูกว่ากลิ่นเป็นอย่างไรก็จะให้เด็กจับคู่กลิ่นที่เหมือนกัน
 
5. ลิ้น ( การชิมรส )  เปรี้ยว  หวาน  เค็ม โดยครูนำน้ำที่ผสมไว้แล้ว เช่น น้ำเชื่อม  น้ำมะนาว ครูชิมน้ำที่เตรียมไว้จากนั้นให้เด็กสังเกตสีหน้าครู และให้เด็กตอบว่า ครูชิมรสอะไร จากนั้นครูจะใช้คำถามเชื่อมโยงว่า  เด็กเคยทานอะไรที่มีรสชาติเหมือนที่ครูชิม
 
 

สรุปวิจัย
 
      เรื่อง  ผลการพัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามแนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง  ( Brain - based Learning )

      ชื่อผู้วิจัย  สารภี  ชมภูคำ

    นิยามสำคัญ

      ทักษะการสังเกต  หมายถึง  ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุจัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่าง หรือ ความสัมพันธ์ อย่างใดอย่างหนึ่งจากการใช้ หู ตา จมูก ลิ้น และ ผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์

     ทักษะการวัด  หมายถึง  การใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ เป็นหน่วยวัดที่มีหรือไม่มีมาตรฐาน ซึ่งอาจไม่มีหน่วยกำกับก็ได้ เช่น นิ้ว คืบ ศอก เป็นต้น รวมถึงการประมาณความหนักเบาของวัตถุ

     ทักษะการจำแนก  หมายถึง   ความสามรถในการแบ่งจัด หรือ เรียบเรียงลำดับวัตถุ หรือ สิ่งของที่มีอยู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่งเป็น สี ขนาด รูปร่าง ลักษณะผิว ส่วนสิ่งมีชีวิตใช้เกณฑ์ อาหาร ลักษณะ ที่อยู่อาศัย การสืบพันธ์ ประโยชน์

    แนวคิดพัฒนาการและการเรียนรู้ของสมอง  หมายถึง  สมองมีการรับรู้หลากหลายรูปแบบหลายวิธีจากประสบการณ์ที่เหมาะสม ในระหว่างเวลาที่ดีเยี่ยม

  ประกอบด้วย 5 หน่วย
1.  หน่วยปลูกต้นไม้ลดความร้อน  ( ธรรมชาติรอบตัว )
2. หน่วยไฟฟ้า  ( เรื่องรางเกี่ยวกับตัวเด็ก )
3. หน่วย เสียงรอบตัวเรา  ( บุคคลสถานที่รอบตัวเด็ก )
4. หน่วย ดินจ๋าดิน  ( ธรรมชาติรอบตัวเด็ก )
5. หน่วยไข่มาแล้วจ๋า  ( สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก )

EX. แบบทดสอบทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

ด้านการสังเกต
  เวลา  :  2 นาที
  สถานการณ์ :  มีผักจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ มะเขือเทศ  มะเขือพวง  มะเขือ
  คำสั่ง  :  ให้เด็กบอก หรือ ชี้ผักชนิดใดที่มีลักษณะแตกต่างจากพวกและมีจำนวนมากที่สุด
  อุปกรณ์  :  มะเขือเทศ  มะเขือพวง  มะเขือ

ด้านการวัด
   เวลา  :  2  นาที
   สถานการณ์  :  มีมะเขือจำนวน  4  ผล  แอปเปิ้ล  จำนวน  1  ผล วางอยู่บนโต๊ะ
   คำสั่ง  :  ให้เด็กชั่งผลไม้  2  ชนิด บอกผลไม้ชนิดใดมากกว่า
   อุปกรณ์  :  แครื่องชั่ง  2  แขน  มะเขือ  4  ผล  แอปเปิ้ล  1  ผล

ด้านการจำแนกประเภท
  เวลา  :  2  นาที
  สถานการณ์  :  มีน้อยหนา  มะเขือ  มะเขือเทศ  แตงกวา
  คำสั่ง  :  ให้เด็กจัดประเภท มีอะไรบ้างเป็นผัก
   อุปกรณ์  :  น้อยหนา  มะเขือ  มะเขือเทศ  แตงกวา


 
 
สรุปบทความ 
เรื่อง  เงามหัศจรรย์ต่อสมอง
 
 
       เงาเกี่ยวข้องกับการทำงานของแสง คือ เงาคือส่วนมืดซึ่งเกิดจากการมีวัตถุไปขวางกั้นแสงทำให้มองเห็นเป็นรูปร่างวัตถุนั้น ๆ ครูปฐมวัยสมามรถประยุกต์ใช้ในการเล่านิทานภาพเงามือ  ยิ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย

  เด็กๆ เรียนรู้อะไรจากเงา
                
                  วิทยาศาสตร์ : ความรู้พื้นฐานเรื่องแสง และทักษะการสังเกตรูปร่างของเงาที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะทักษะการสืบค้นและหาข้อสรุป

                 คณิตศาสตร์ : ความรู้พื้นฐานเรื่อง รูปทรง ขนาด จำนวน มิติสัมพันธ์ และการวัด เช่น การวัดเงาส่วนสูงของตนเองและเพื่อนๆ

                 ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ : จากการคิดสร้างเงารูปแปลกๆ คิดสร้างเรื่องหรือสิ่งใหม่ๆ จากเงาที่เห็น

                 ภาษาและการสื่อสาร : ได้จากการแต่งเป็นนิทานและคำคล้องจองเรียกว่าการเรียนรู้เหล่านี้มาจากการทำงานของสมองล้วนๆ ขณะที่เล่นกับเงาสมองของลูกทำงานอย่างปรู๊ดปร๊าดทีเดียว
 
   ****หากเด็กเกิดอาการกลัวเงา ****
เพราะเขามีจิตนาการเชื่อมโยงกับเรื่องผี รวมถึงคำขู่ของผู้ใหญ่ การช่วยให้เด็กหายกลัวคือต้องลดสิ่งเร้าการเล่นกับเงาด้วยการทดลองที่หลากหลาย
 
    - ยืนบังแสงแดดในเวลาแตกต่างกัน
   - วัดความสูงของเงา
 
          หากเด็กมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลเด็กก็จะหายกลัวเงาไปเอง พ่อแม่จึงควรใช้ประโยชน์จากเงาให้มากที่สุดในการส่งเสริมพัฒนาการของของลูก ด้วยการชวนลูกเล่นเงา ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น การชวนกันวัดขนาดของเงา การสังเกตเงาในแต่ละช่วงเวลาของวัน (เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์/ วิทยาศาสตร์) การสร้างนิทานหุ่นเงาจากมือมาเล่นสนุกกับเด็กๆ หรือสร้างหุ่นรูปสัตว์ต่างๆ มาติดไฟฉายส่องไปที่ผนังแต่งนิทานสร้างเรื่องราวหรือเล่นละครกับลูก ซึ่งขณะเล่นกับลูก หากคุณพ่อคุณแม่ได้สังเกตพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก เช่น ภาษาดูว่า การฟังการพูดเป็นอย่างไร ลูกกล้าแสดงออก มี ความเชื่อมั่นในตนเองเพียงใด การคิดและจินตนาการหลากหลายหรือไม่ การร่วมเล่นสนุกกับลูกๆ จึงให้ประโยชน์อย่างนึกไม่ถึงทีเดียว ที่สำคัญ ส่งผลต่อความรักความอบอุ่นและความสุขในครอบครัวด้วย
 
ตัวอย่าง ภาพเงามือ ใช้ประกอบในการเล่านิทาน
 

 
 
 
 
 
 
 
 
ความลับบของอากาศ


 
 
     ส่วนผสมคือก๊าซต่าง ๆ และไอน้ำส่วนใหญ่ ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  อากาศไม่มีสีไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ อากศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง
    
ไอน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น ลม  พายุ  ฟ้าแลบ  ฟ้าร้อง  รุ้งกินน้ำ  เป็นต้น
     
     คุณสมบัติของอากาศ  Properties.
1.  อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
2.  อากาศมีน้ำหนัก
3.  อากาศต้องการที่อยู่
4.  อากาศเคลื่อนที่ได้ และ เมื่ออากาศได้ความรับจะขยายตัว ลอยตัวสูง ความหนาแน่ของอากาศลดน้อยลง
      
        อากศเคลื่อนที่อยู่เสมอ สังเกตได้เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก อุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกัน ทำให้เกิดพายุ ถ้ารุนแรงมาก อาจทำให้เกิดน้ำท่วม บ้านเรือนเสียหาย
      
         เทอร์โมมิเตอร์  มีลักษณะคล้ายหลอดแก้วหัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็ก ๆ ข้างในบรรลุด้วยของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว  " อุณหภูมิสูงขึ้น "  ถ้าของเหลวหดตัว  " อุณหภูมิต่ำ "
      
           อากาศเป็นสิ่งจำเป็น ในการหายใจของสิ่งมีชีวิต  ถ้าขาดอากาศหายใจจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
     
             อุลตราไวโลเลน หรือ แสงสีม่วง หากผ่านเข้าสู่โลกชั้นในจะเป็นอัตรายต่อสิ่งมีชีวิตช่วยป้องกันอันตรายจากนอกโลก เช่น อุกาบาต ขยะอวกาศ จะเกิดผลเสียต่อมนุษย์
 
 

 
 

 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 16
ประจำวันที่  3 เดือน  ธันวาคม  พ.ศ.  2557

ความรู้ที่ได้รับ

วิจัยเรื่อง  การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตรืการลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย
-  การสังเกตข้อมูลแล้วมาสอดคล้องกับความรู้หรือประสบการณ์เดิม สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
- กิจกรรมการทดลองและใช้คำถามในการบูรณาการ
ปฏิบัติโดยการทดลอง
ตัวอย่าง

หน่วยไข่  ไข่หมุน
อุปกรณ์  ไข่ดิบ กับ ไข่ต้ม
   ขั้นนำ  แบ่งเด็กออกเป็น  5  กลุ่ม  และหาพื้นที่ของตนเอง
   ขั้นสอน  1.  สังเกตไข่ดิบและไข่สุก  ให้สังเกตุความเหมือนต่าง
                 2. และใช้คำถาม  เด็ก ๆ คิดว่า ถ้าครูหมุนไข่ทั้ง 2 ฟองแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
                 3. ทำการทดลอง และบันทึก
   ขั้นสรุป  ครูและเด็กสรุปถึงการทดลอง  "  ไข่หมุน "


วิจัย การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย


** กิจกรรมในห้อง  การทำแผ่นพับ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และขอความช่วยเหลือในการนำวัสดุ
อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม หน่วยนั้น ๆ

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ Applications

1.  สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้
2. นำไปใช้ในการทดลองเพื่อทดสอบหาความจริง
3. สามรถนำความรู้ในเรื่องแผ่นพับ ไปใช้ในการให้ความรู้และขอความช่วยเหลือ แก่ผู้ปกครองในอนาคตได้

เทคนิคการสอน Teaching methods.

ให้คำชี้แนะในการประยุกต์ใช้ให้สอดครองกับงานวิจัยเรื่องที่เพื่อนนำเสนอ
การอภิปราย

การประเมิน Assessment .

ตนเอง   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  วางรองเท้าอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา สนใจในการนำเสนอวิจัยของเพื่อน

เพื่อน  ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เข้าเรียนตรงเวลา

อาจารย์  ให้คำแนะนำในการทำแผ่นพับดีมาก  แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสม  เข้าสอนตรงเวลา


 

 



 
บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 15
ประจำวันที่  27  เดือน  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้รับ   นำเสนอวิจัย

          1.  เรื่องการสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     ทักษะการจำแนก
     ทักษะการสังเกต
     ทักษะการวัด
     การหามิติสัมพันธ์
หน่วยสัตว์เลี้ยงแสนรัก   อาหารของสัตว์
อุปกรณ์   บัตรภาพสัตว์  บัตรภาพอาหารสัตว์  กระเป๋าหนัง
   -  แบ่งเด็กออกเป็น  5  กลุ่ม และคิดออกแบบท่าทางสัตว์ที่ได้
   - ภาพอาหาร
   - แจกบัตรภาพให้เด็ก และให้เด็กเรียงจากเล็กไปใหญ่
เด็กต้องมีประสบการณืเดิม   ** ใช้บรูณาการในกิจกรรม  เคลื่อนไหว
คำถาม
   -  ภาพนี้คืออะไร ?
   -  อาหารชนิดนี้เป็นอาหารของสัตว์อะไร ?
   -  สัตว์ดำรงชีวิตอย่างไร ?
   -  สัตว์กินอะไรนอกจากอาหารสัตว์ ?
นำภาพอาหารที่เรียงแล้วใส่ในกระเป๋าว่าตรงกับสัตว์อะไร
** สังเกต   =  มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสทั้ง  5
     จำแนก  = อาหารสัตว์
     การวัด   = เรียงขนาด  วัดขนาด  ( ด้วยตาของเด็ก )
  • ครูจะจัดมุมเสรีในหน่วยที่สามารถหาของจริงมาได้  ใส่ไว้ในตู้เพื่อให้เด้กสังเกตุและบันทึกการเปลี่ยนแปลง
  • ทำแบบฝึกหัด  การจับคู่ความสัมพันธ์
วิจัย การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

            2.  เรื่อง การจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์โดยทักษะการสังเกตที่เกี่ยวข้องกับเด้กปฐมวัย
    หน่วยแว่นขยายเห็นชัดเจน
วิธีการ   -  ครูแนะนำกิจกรรม / ให้เด็ก ๆ นำแว่นขยายส่องสิ่งที่ตนเองสนใจ
             - แว่นขยายส่อง ดิน  หิน  ต้นไม้  แมลง  โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5  สำรวจรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน 
            - สังเกตของจริงมองด้วยตาเปล่า และมองด้วยแว่นขยาย จากนั้นวาดภาพเปรียบเทียบ
คำถาม
         -  เด็ก ๆ มองเห้นวัตถุเป็นอย่างไร ?
         - เด็ก ๆ เห็นอะไรบ้าง ?
         - เมื่อใช้แว่นขยายส่องวัตถุแล้ววัตถุเป็นอย่างไร ?
        -  มองด้วยตาเปล่า และ มองด้วยแว่นขยายมีขนาดแตกต่างกันอย่างไร ?
   
     หน่วย  แสงเป็นอย่างไร  ( สถานที่ใต้ต้นไม้ใหญ่  / เล็ก )
วิธีการ    -  ครูแนะนำกิจกรรม เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
1. เด็กยืนใต้ต้นไม้ใหญ่ และต้นไม้เล็ก เพื่อดูแสงที่ลอดผ่านใบไม้ ดุความแตกต่างของแสงที่ลอดผ่าน
2. ทดลองตักน้ำใส่ขัน วางกลางแดดประมาณ 1 ชั่วโมง และตักน้ำใส่ขันแต่วางอยู่ในร่ม ดูว่าแตกต่างกันอย่างไร
3. จับดิน  ดินเปียก ดินแห้ง
4. เด็กหาวัตถุธรรมชาติเพื่อทำเป็นเงา และสังเกตเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์
         - สรุป โดยการสนทนาถึงกิจกรรมที่ทำ

วิจัย ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์โดยทักษะการสังเกตที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย

        3.  เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด้กปฐมวัยที่ได้รับการจัดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 - การคิดเชิงเหตุผลสำคัญ ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
 - การจำแนกประเภท  การจัดประเภท  อนุกรรม
มี 8 หน่วย ดังนี้  น้ำ อากาศ ดวงอาทิตย์ เรียนรู้ธรรมชาติ พืชน่ารู้ พลังงาน เสียง และ ฉันคือใคร
      ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์   สนุกกับน้ำ
กิจกรรม  กรอกน้ำใส่ขวด
     -  ครูแนะนำกิจกรรม
     - ครูและเด็กร่วมกันวางแผนการหาวิธีกรอกน้ำใส่ขวด  (  ใช้แก้วตัก  ใช้กรวยกรอก  นำขวดคว่ำลง )
     - จากนั้นครูให้เด็กทำตามที่ครูสาธิต
    - ให้เด็ก ๆ คิดหาวิธีการนำน้ำเข้าขวดด้วยตนเอง

  วิจัย การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

      4. เรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อการสังเกตและการทดลองทางวิทยาศาสตร์
-  การสังเกต  การจำแนกประเภท  การวัด การลงความเห็น   มิติสัมพันธ์
  ** พืชต้องการแสงแดด
- ปลุกถั่วงอก  1. ไว้ในที่ที่แสงแดงส่องถึง
                       2. ปลูกแล้วเอากล่องคลอบไว้
- เด็กจะมีการตั้งสมมติฐานและบันทึกทุกวัน
- เด็กสังเกตใบของถั่วงอกที่มีแสงส่องถึง และแสงส่องไม่ถึง
   ** บูรณาการใน  " หน่วยกล้วย "  การถนอมอาหาร  กล้วยตาก
        สังเกตความแตกต่างระหว่าง  กล้วยที่วางอยู่ไว้ในห้อง  กับ  กล้วยที่ใส่ตู้เย็น



การนำเสนอโทรทัศน์ครู(Presentation Teachers TV)

1 .เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอน เสียงมาจากไหน
       ความสามารถทางด้านดนตรี  
- ไก่กระต๊าก
- กระป๋องรองด้าย
2. เรื่อง สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3 .เรื่อง อนุบาล 3 เรียนวิทย์สนุก
4 .เรื่อง เรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
- เรือพับ
-จรวดพับ
5 .เรื่อง สัปดาห์วิทยาศาสตร์
6 .เรื่อง ขวดปั้มและลิปเทียน
7 .เรื่อง สื่อแสงแสนสนุก
8 .เรื่อง วิทย์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอน พลังจิต คิดไม่ซื่อ
9. เรื่อง ทะเลฟองรุ้ง
10. เรื่อง สาดสีสุดสนุก
11 .เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
12. เรื่อง ไข่ในน้ำ
13. เรื่อง ความลับของใยบัว
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ Applications.

1. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยได้
2. สามารถนำการทดลองต่าง ๆ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แก่เด็กได้
3. ไปใช้ในการทดลองเพื่อให้ทราบถึงความเป็นจริง

เทคนิคการสอน Teaching methods

สอนในเรื่องการนำเสนอ
การอภิปราย
การยกตัวอย่างในการตั้งคำถาม

การประเมิน Assessment

ตนเอง  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อน ๆ ในการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ตั้งใจฟังอาจารย์แนะนำสิ่งที่ขาดและรายละเอียดต่างๆของการเขียนแผน

เพื่อน วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา วางรองเท้าเป็นระเบียบ แต่งกายเรียบร้อย ได้ออกมานำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครูของตัวเองหน้าชั้นเรียนอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังอาจารย์ติชมและข้อดีเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนแผนที่จะใช้สอนเด็ก

อาจารย์ วันนี้อาจารย์มาสอนตรงเวลา คอยให้คำแนะนำที่เพื่อนนำเสนอและรูปแบบการเขียนแผน หลักการสอนให้ผู้เรียนได้ปฎิบัติอย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เขียนแผนที่ดีขึ้นและถูกต้องสมบูรณ์แบบ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่  14
ประจำวันที่  20 เดือน พฤษจิกายน  พ.ศ. 2557


ความรู้ที่ได้รับ


งานวิจัย
1. การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะสร้างสรรค์ในการเรียนรู้

2. ผลการบันทึกประกอบประสบการณืทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถทางมิติสัมพันธ์

3. ผลของการจัดประสบการณ์ โดยกระบวนการสืบเสาะเพื่อให้เด็กเกิดทักษะการจำแนก

4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรืของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน


***   กิจกรรมในห้องเรียน  การทำ Cooking. วาฟเฟิล  ***

วัตถุดิบ

1.ไข่ไก่ (Egg)
2.แป้ง (Flour)
3.เนย (Butter)
4.น้ำ (Water)

อุปกรณ์
1.ถ้วย (Cup)
2.จาน (Stove)
3.ช้อน (Spoon)
4.เตาอบวาฟเฟิล (plate)
5.ที่ตีไข่ (Whisk)
 
  ....วิธีการทำ.....
 
1. ตอกไข่ไก่ลงในภาชนะและตามด้วยแป้ง  และใส่น้ำที่ละนิด จากนั้นตีผสมให้เข้ากัน
2. แบ่งใส่ถ้วย เตรียมยอดใส่พิมพ์
3. อบเสร็จตัดใส่จาน พร้อมรับประทาน
 
 




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ Applications.

1.  สามารถปรับไปใช้ในการจัดกิจกรรมแก่เด็กปฐมวัยได้
2. สามรถนำไปประกอบอาชีพในอนาคต  แม่ค้าขาย วาฟเฟิล

เทคนิคการสอน Teaching methods.

สอนเรื่องการนำเสนอ  และการได้ลงมือปฏิบัติจริง

การประเมิน Assessment .

ตนเอง   มีความพร้อมในการเรียน สนใจในการนำเสนอของเพื่อน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

เพื่อน    เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจเรียน  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

อาจารย์   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีสืออุปกรณ์จริงให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง